ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

13 ตุลาคม 2551

หอสมุดแห่งการถ่ายภาพ






การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ

ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟโตกราฟฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน. เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายตรงตัวว่า การวาดภาพด้วยแสง นั่นเอง

ประวัติการถ่ายภาพ
พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) - นิเซฟอร์ นิเอปเซ่ (Nicéphore Niépce) ถ่ายภาพเป็นครั้งแรก โดยใช้ยางมะตอยจูเดีย (bitumen of Judea)
พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) - ฌากส์ ดาแกร์ (Jacques Daguerre) ซึ่งเคยทำงานกับนิเอปเซ่ ประดิษฐ์วิธีการถ่ายภาพใหม่ คือ ดาแกโรไทป์ (Daguerreotype) โดยใช้โลหะเงินบนแผ่นทองแดงในการถ่ายภาพ. ซึ่งดารแกร์พบว่า เมื่อนำเงินมาอังด้วยไอของไอโอดีนก่อนใช้ถ่ายภาพ แล้วนำไปอังด้วยไอปรอท จะได้ภาพออกมา
พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต (William Fox Talbot) ประดิษฐ์คาโลไทป์ (Calotype) โดยการชุบกระดาษด้วยซิลเวอร์คลอไรด์ เพื่อทำภาพเนกาทิฟ แล้วนำมาใช้ทำพอซิทิฟได้ เป็นวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - เจมส์ คลาร์ก แม็กซ์เวล (James Clerk Maxwell) ถ่ายภาพสีเป็นครั้งแรก

ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะภาพถ่าย
ศาสตราจารย์ พูน เกษจำรัส
จิตต์ จงมั่นคง
ไพบูลย์ มุสิกโปดก
ยรรยง โอฬาระชิน F.PST, E.FIAP

รายชื่อบุคคลสำคัญในวงการถ่ายภาพ
โจเซฟ ไนซ์ฟอร์ นีปซ์ (Joseph-Nicephore Niepce)
คาเมร่า ออบสคูร่า (Camera Obscura)
กระบวนการดาแกโรไทป์ (Daguerreotype Process)
วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต (William Henry Fox Talbot)
กระบวนการเพลทเปียก (wet-collodion process)
แมททิว เบรดี้ (Mathew Brady)
เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ (F. Scott Archer)
เอ็ดเวอร์ด ไมรด์บริดจ์ (Eadweard Muybridge)
จอร์จ อีสต์แมนต์ (George Eastman)
จูเรีย มาร์กาเร็ต คาเมร่อน (Julia Margaret Cameron)
โจฮันน์ เฮนริช ชูลท์ (Johann Heinrich Schulze)
ราโยกราฟส์ (rayographs)
เฮนรี่ คารเทียร์ เบรสซอง (Henri Cartier-Bresson)
เซอร์ จอห์น เฮอร์เชล (Sir John Herschel)
โทมัส เวดจ์วู้ด (Thomas Wedgwood)
กระบวนการคาโลไทป์ (Calotype Process)
ฮีลีโอกราฟส์ (Heliographs)
carte-de-visite
ริชาร์ด แมดด็อกซ์
จอร์จ อีสท์แมน

กล้องถ่ายภาพ
ภาพจำลองกล้องถ่ายภาพในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ
เลนส์ถ่ายภาพเลนส์ถ่ายภาพ - คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ในกล้องถ่ายภาพ เลนส์ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุไวแสง ตัวกล้อง
ตัวรับภาพ (Image Sensor)
ไดอะแฟรม
ชัตเตอร์
ช่องมองภาพ
แฟลช

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

เลนส์ - มีหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ เพื่อให้ตกลงบนฟิล์มถ่ายภาพ CCD หรือ CMOS ของกล้องได้
ตัวถัง (Body) - ส่วนใหญ่จะทำจากอะลูมิเนียม หรือ พลาสติกอัดแข็ง เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน โดยรูปร่างจะแบ่งออกตามประเภทของกล้อง
Image sensor - หรือตัวรับภาพซึ่งมีทั้งแบบฟิล์ม และแบบ Digital โดยแบบ Digital นั้นจะมีอุปกรณ์เช่น CCD, CMOS เป็นตัวรับภาพ ซึ่งทั้งฟิล์มและตัวรับภาพดิจิตอลนั้น จะทำหน้าที่ในการรับแสง โดยฟิล์มจะไปเก็บในรูปแบบปฏิกิริยาเคมีบนเนื้อฟิล์ม ส่วนแบบดิจิตอลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป CCD และ CMOS ซึ่งทำจาก Silicon ด้วยกันทั้งคู่ ต้นทุนการผลิต CCD จะสูงกว่า แต่ CCD จะมี Noise มากกว่ากว่า CMOS อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นกับความสามารถของโปรแกรมของกล้องนั้นๆอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตกล้อง ส่วนใหญ่มักจะใช้ CCD จาก Sony ซึ่งมีปัญหาใน CCD บางรุ่น
แบตเตอรี่ - แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเทียม ไอร์ออน) และ NiMH (นิกเกิล เมธัลไฮดราย) ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเด่นคนละแบบ ซึ่งกล้องขนาดเล็กมักใช้ Li-ion เนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และเก็บประจุได้มาก ส่วน NiMH มักจะพบในกล้องระดับกลาง และ D-SLR จนถึง SLR เนื่องจาก เก็บประจุไฟได้มาก และสามารถหาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย (สามารถใช้ แบตเตอรี่ชนิด AA ทดแทนได้)
ปุ่มควบคุม - แล้วแต่รุ่นและผู้ผลิต ปุ่มเหล่านี้จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนฟังก์ชัน
แฟลช - แฟลชจะเป็นตัวเพิ่มแสงในกรณีที่ภาพมืดเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการสั่นไหวของภาพ แต่การใช้แฟลชจะทำให้ อุณภูมิสีของภาพ เปลี่ยนแปลงไป ในกล้องดิจิตอลคอมแพค จะตั้งค่าแฟลชอัตโนมัติ

กล้องถ่ายรูปแบบต่าง ๆ
กล้องกลาง หรือ มีเดียมฟอร์แมท (Medium Format) จะใช้ฟิล์มแบบ 120 โดยในหนึ่งม้วนจะมีแค่ 12 รูปหรือ 24 รูปเท่านั้น
กล้องของเล่น หรือ กล้องทอย (Toy) เป็นกล้องถ่ายรูปราคาถูก โดยมากผลิตจากพลาสติก ทั้งส่วนตัวกล้องและเลนส์ และไม่มีระบบไฟฟ้าอื่นๆ
กล้องบ๊อกซ์
กล้องคอมแพค
กล้องแบบมีเครื่องหาระยะ (Range Finder)
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. (Single Lens Reflection) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้อง SLR
กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 120 มม.
กล้องสะท้อนภาพเลนส์คู่ (Twin Lens Reflection)
กล้องหนังสือพิมพ์
กล้องใหญ่ (Large Format)
กล้องดิจิทัล

ชนิดของกล้องถ่ายภาพ
กล้องถ่ายภาพที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลากหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งมีหลายบริษัท ได้ผลิตออกมาจำหน่าย ซึ่งผู้ใช้ต้องรู้จักเลือกเพื่อใช้กล้องให้เหมาะสมกับงาน หรืองบประมาณที่มีอยู่ ตลอดจน สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น ฟิล์ม หรือกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ การเลือกใช้กล้อง ที่เหมาะสม กับงานจะได้ผลงานที่ดี ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย ในการทำงาน

กล้อง 35 มม. ชนิดคอมแพค
เป็นกล้องขนาดเล็กที่คุณภาพดี ตัวกล้องทำจากพลาสติกแข็ง หรือไฟเบอร์บางยี่ห้อทำจากโลหะ มีน้ำหนักเบา ช่องมองภาพแยกจากเลนส์ เลนส์ทำจากแก้วหรือเจลาติน บางรุ่นสามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัส หรือ ซูม ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเลนส์มุมกว้าง 28 - 35 มม. ไม่สามารถปรับระยะชัดด้วยมือหรือเปลี่ยนรูรับแสงได้ บางรุ่นมีไฟแวบหรือไฟแฟลชในตัว ใช้งานง่าย เพียงมองผ่านช่องมองภาพแล้วกดเท่านั้น กล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในกลุ่มนักถ่ายภาพสมัครเล่น จนถึงนักถ่ายภาพอาชีพ ราคาค่อนข้างสูง แล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ และคุณสมบัติของกล้อง ซึ่งมีหลายรุ่นหลายราคา ตั้งแต่พันกว่าบาทถึงหลายหมื่นบาท ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. เลื่อนฟิล์มอัตโนมัติ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการความคมชัดพอสมควร ขยายภาพขนาดใหญ่ได้ดี



กล้องขนาด 35 มม. ชนิดคอมแพค ใช้ฟิล์มม้วนขนาด 35 มม. แบบอัตโนมัติซึ่งเป็นที่นิยมของนักถ่ายภาพสมัครเล่น และนักถ่ายภาพอาชีพ




กล้อง 35 มม. ชนิดสะท้อนเลนส์เดี่ยว
หรือที่เรียกว่า กล้อง 35 มม. SLR (Single Lens Reflex Camera) เป็นกล้องที่นิยมใช้มากที่สุด ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. เช่นเดียวกัน ตัวกล้องทำด้วยโลหะ หรือไฟเบอร์ มีความแข็งแรงกว่า3 ชนิดแรก มีระบบมองภาพผ่านเลนส์โดยตรง เมื่อภาพสะท้อนผ่านเลนส์ จะมีกระจก 45 องศา เป็นตัวสะท้อนภาพขึ้นสู่ปริซึม 5 เหลี่ยม และสะท้อนสู่ช่องมองภาพจึงให้ความแม่นยำในการถ่ายภาพได้ดี สามารถปรับระยะชัด และรูรับแสงด้วยมือ สามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้หลายระดับ เช่น 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 ไปจนถึง 1/8000 วินาที สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มีเครื่องวัดแสงในตัว ถ่ายภาพได้คมชัดดีมาก อีกทั้งยังสามารถกำหนดรูรับแสงขนาดต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม มีเครื่องวัดแสงในตัว มีกลไกในการตั้งเวลาถ่ายภาพด้วยตนเอง สามารถต่อพ่วงไฟแวบ หรือไฟแฟลชได้ บางรุ่นมีไฟแวบในตัว ดังนั้นกล้องชนิดนี้จึงเป็นกล้องที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้ความคมชัด และรายละเอียดของภาพอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับผู้ที่ศึกษาในเรื่องการถ่ายภาพเพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญ ควรใช้กล้องชนิดนี้ และหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงการใช้กล้องชนิดนี้เป็นหลัก
ปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้พัฒนาไปมาก เช่น มีการปรับระยะชัดโดยอัตโนมัติ หรือ Auto Focus หรือ AF มีระบบถ่ายอัตโนมัติ ซึ่งกล้องจะปรับสภาพเองตามสภาพของแสงและการเคลื่อนไหวของวัตถุ แต่กล้องชนิดนี้ราคาค่อนข้างแพงกว่าเมื่อเทียบกับแบบกลไก




กล้อง 35 มม.สะท้อนเลนส์เดี่ยว (Single Lens Reflex Camera)หรือSLR เป็นกล้องที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะอำนวยความสะดวกและมีความคมชัด สามารถสร้างสรรค์ภาพได้ตามต้องการ









กล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยวแบบอัตโนมัติ ใช้ฟิล์มม้วน ขนาด 35 มม. ปรับระยะชัด กำหนดรูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ได้เองโดยอัตโนมัติ







กล้อง 120. ชนิดสะท้อนเลนส์เดี่ยว
เป็นกล้องที่นิยมใช้ในกลุ่มนักถ่ายภาพมืออาชีพ มีคุณสมบัติและลักษณะคล้ายกับกล้อง 35มม สะท้อนเลนส์เดี่ยว ตัวกล้องใหญ่และน้ำหนักมากกว่า ใช้ฟิล์มขนาด 120 มีขนาด 4.5x6 ซม.สามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ ปรับระยะชัดด้วยมือ ปรับรูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ได้ และมีเครื่องวัดแสงในตัว ด้านหลังของกล้อง เรียกว่า แมกกาซีน สำหรับบรรจุฟิล์มถ่ายภาพสามารถถอดเปลี่ยนได้ ใช้ฟิล์มได้หลายขนาด เช่น 6x6 ซม. 6x7ซม. 6x9 ซม. หรือบันทึกภาพแบบโพราลอยด์ได้ ภาพที่ได้ที่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้มากกว่า กล้อง 35 มม. สามารถนำไปขยายใหญ่ได้ เหมาะสำหรับการบันทึกภาพในสตูดิโอ (Studio) ถ่ายภาพเพื่อทำต้นฉบับสิ่งพิมพ์ เช่น ภาพโปสเตอร์ วารสาร นิตยสารต่าง ๆ ที่ต้องการภาพที่มีความคมชัดและสีสันถูกต้องเหมือนจริงมากที่สุด




กล้องถ่ายภาพ 120 ชนิดสะท้อนเลนส์เดี่ยว เหมาะสำหรับการบันทึกภาพในสตูดิโอ หรือภาพที่ต้องการขยายให้มีขนาดใหญ่ปานกลางให้ความคมชัดสูง นิยมใช้ในกลุ่มนักถ่ายภาพมืออาชีพ และมือสมัครเล่น






กล้อง 120. ชนิดสะท้อนเลนส์คู่
เป็นกล้องที่มีเลนส์อยู่ 2 เลนส์แยกจากกัน เลนส์ตัวบนทำหน้าที่มองภาพโดยสะท้อนผ่านกระจก 45 องศา ด้านหลังเลนส์ และส่งภาพขึ้นไปบนกระจกฝ้าเนื้อละเอียดเป็นตัวรับภาพ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนสุดของกล้อง บนกระจกมีแว่นขยายเพื่อให้ปรับระยะชัดได้อย่างเที่ยงตรง ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับภาพ ผ่านเลนส์ ผ่านม่านชัตเตอร์ แล้วให้แสงมากระทบกับฟิล์มเพื่อการบันทึกภาพ เป็นกล้องที่แข็งแรง ทนทาน นิยมใช้มากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน นิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ หรือภาพทั่ว ๆ ไป ใช้ฟิล์มม้วน ขนาด 2 นิ้ว หรือ 120 ถ่ายภาพได้เป็นภาพสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 6x6 ซม. และมีแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4.5 x 6 ซม. บางรุ่นสามารถใช้ฟิล์มแผ่น ขนาด 6x6 ซม. หรือใช้ฟิล์ม 35 มม. ได้อีกด้วย แต่ปัญหาที่พบสำหรับกล้องชนิดนี้ก็คือ เมื่อมีการถ่ายภาพระยะใกล้ (Close Up) จะมีปัญหาคือภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบน กับเลนส์ตัวล่างในการบันทึกภาพจะเกิดความคลาดเคลื่อน อาจทำให้ได้ภาพที่ไม่ตรงกับที่มองเห็นผ่านจอรับภาพ ดังนั้นการใช้กล้องชนิดนี้ควรให้ความระมัดระวังด้วย






กล้องถ่ายภาพ 120 ชนิดสะท้อนเลนส์คู่ ซึ่งแยกช่องมองภาพออกจากเลนส์รับแสงสำหรับบันทึกภาพ นิยมใช้กันมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ใช้ฟิล์มเบอร์ 120 บางรุ่น สามารถใช้ฟิล์มแผ่น หรือ ฟิล์มม้วนขนาด 35 มม. ได้








กล้องวิว (View Camera)
เป็นกล้องถ่ายภาพขนาดใหญ่ นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพใน สตูดิโอ (Studio) ใช้ฟิล์มแผ่นได้หลายขนาด เช่น 4x5 นิ้ว 5x7นิ้ว ไปจนถึง 8x10 นิ้ว ปรับระยะชัด หรือปรับโฟกัสด้วยวิธีการยืดหนังหรือผ้าสีดำพับเป็นจีบแบบยืด (Bellow) สามารถปรับมุมก้ม เงย หรือ ซ้าย ขวา ได้พอสมควร มีจอรับภาพเป็นกระจกฝ้าเนื้อละเอียดอยู่ด้านหลังสำหรับมองภาพ
การถ่ายภาพด้วยกล้องชนิดนี้จึงเป็นภาพที่ต้องการความละเอียด และความคมชัดสูง สามารถขยายใหญ่ได้ดี จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล ภาพโฆษณา ภาพทิวทัศน์ เพื่อใช้สำหรับเป็นต้นฉบับในการพิมพ์ภาพขนาดใหญ่ ต้นทุนในการถ่ายภาพแต่ละภาพสูงมาก ต้องอาศัยความชำนาญของนักถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ปัจจุบันจะมีใช้กันมากในสตูดิโอถ่ายภาพต่าง ๆ หรือบริษัทโฆษณา





กล้องวิว (View Camera) เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสตูดิโอ ใช้ฟิล์มแผ่นได้หลายขนาด เช่น 4x5 นิ้ว 5x7นิ้ว ไปจนถึง 8x10 นิ้ว เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการความละเอียดและความคมชัดสูง หรือภาพที่ต้องการขยายใหญ่








กล้องถ่ายภาพสำเร็จรูป (Instant Camera)
หรือที่นิยมเรียกตามยี่ห้อของกล้องที่ผลิตขึ้นมาเป็นครั้งแรก คือ กล้องโพรารอยด์ (Polaroid) กล้องแบบนี้เป็นระบบการถ่ายภาพแบบไม่ต้องใช้ฟิล์ม ใดยใช้กระดาษอัดภาพผสมน้ำยาเรียบร้อยแล้ว เมื่อบรรจุกระดาษอัดภาพชนิดนี้เข้ากล้องถ่ายภาพแล้วจะดึงกระดาษที่อยู่ด้านหน้าออก เมื่อบันทึกภาพเสร็จ ต้องดึงกระดาษออกทันที ระหว่างที่ดึงภาพจะอาบน้ำยาสร้างภาพที่ติดมาพร้อมกับกระดาษ เมื่อกระดาษแห้งแล้วจะปรากฏภาพขึ้นทันที
กล้องชนิดนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว เช่น การถ่ายภาพติดบัตรต่าง ๆ หรือการถ่ายภาพในสถานที่ต่าง ๆ หรือใช้สำหรับถ่ายภาพเพื่อทดสอบแสง และการจัดภาพ สำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ กล้องบางตัวสามารถถ่ายภาพขนาดเล็กแบ่งเป็น 4 ภาพใน 1 แผ่น ต้นทุนในการถ่ายภาพด้วยกล้องชนิดนี้ค่อนข้างสูง จึงต้องให้ความระมัดระวังในการถ่ายภาพ

ข้อจำกัด คือ ภาพที่ได้เป็นภาพที่ผ่านกระบวนการอัดภาพแบบง่าย ๆ ดังนั้นอาจเก็บไว้ไม่ได้นานภาพจะเปลี่ยนสีและเสื่อมสภาพเร็ว ดังนั้นควรเก็บภาพให้ดีไม่ควรให้ภาพโดนแสงสว่างที่จ้าเป็นเวลานาน

กล้องถ่ายภาพสำเร็จรูป (Instant Camera) เป็นกล้องถ่ายภาพที่สามารถถ่ายภาพโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม โดยใช้กระดาษไวแสงสำหรับบันทึกภาพ พร้อมน้ำยาสร้างภาพเมื่อถ่ายเสร็จแล้วสามารถดึงภาพออกมาได้ทันที


กล้องดิจิตอล (Digital Camera)
เมื่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพได้พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็มีความก้าวหน้าเช่นกัน จึงได้มีผู้คิดค้นกล้องถ่ายภาพที่สามารถใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ที่ถ่ายภาพโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ การบันทึกภาพจะบันทึกในรูปแบบของหน่วยความจำแบบดิจิตอล หรือบันทึกลงในแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ซีดีรอม บางรุ่นสามารถบันทึกภาพได้ละเอียดถึง 6 ล้าน Pixel ช่องมองภาพจะเป็นจอภาพแบบ LCD หรือจอคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก สามารถพิมพ์ภาพออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) สามารถผลิตได้ทั้งภาพสี ภาพขาว ดำ สไลด์สี บางรุ่นสามารถบันทึกวิดีทัศน์ (Video) ได้ในตัว และสามารถแสดงผลทางจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตกแต่งและสร้างสรรค์ภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก เช่น Adobe PhotoShop สามารถเผยแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต หรือส่งทาง Email ได้ ปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก บริษัทผลิตกล้องถ่ายภาพหลายบริษัทได้หันมาพัฒนาเทคโนโลยีกล้องดิจิตอลมากขึ้น

กล้องถ่ายภาพชนิดพิเศษ
กล้องถ่ายภาพทีได้กล่าวมาทั้ง 9 ชนิดนั้น เป็นกล้องที่พบเห็นและใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ยังมีกล้องชนิดพิเศษ สำหรับใช้งานเฉพาะด้าน เช่น กล้องถ่ายภาพใต้น้ำ (Under water camera) กล้องถ่ายภาพทางการแพทย์ กล้องถ่ายภาพมุมกว้างพิเศษ(Panorama) กล้องนักสืบ (Spy camera)กล้องถ่ายภาพ3มิติกล้องถ่ายภาพแบบหมุน ฯลฯ







บทความตอนนี้ขอเจาะประเด็นเรื่องเลนส์ สักหน่อย ว่าด้วยเรื่องรูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ ว่ามีการทำงานยังไง

ความเร็วชัตเตอร์ - Shutter Speed

ชัตเตอร์คือตัวกำหนดระยะเวลาของการรับแสงในกล้อง ในขณะที่ยังไม่มีการบันทึกภาพม่านชัตเตอร์จะปิด แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปที่ตัวรับภาพได้ ทันทีที่เรากดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพ ม่านชัตเตอร์จะเปิดเป็นระยะเวลาสั้นหรือยาวนานเพียงใดขึ้นอยู่กับการเลือกของผู้บันทึกหรือโปรแกรมการบันทึกภาพของกล้องที่จะสั่งงาน กล้องดิจิตอลในรุ่นสำหรับผู้บริโภคทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้ electronic shutter ซึ่งหมายถึงการควบคุมการรับแสงจากแผงชิพอีเล็คทรอนิคของตัวรับภาพ หรือในบางรุ่นอาจใช้ผสมกันระหว่าง electronic shutter กับม่านชัตเตอร์

ความเร็วชัตเตอร์เป็นค่าของตัวเลขมาตรฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเร็วในการเปิด - ปิดรับแสงของกล้อง เพื่อกำหนดระยะเวลาในการรับแสงที่ผ่านรูรับแสงของเลนส์เข้ามายังตัวรับภาพ เพื่อให้ได้ปริมาณแสงตามความเหมาะสมในการบันทึกภาพ การนับความเร็วของชัตเตอร์จะนับเป็นหน่วยของวินาที (เป็นเศษส่วนของวินาที) สมันก่อนมักจะเป็นแป้นมีตัวเลขหลายตัวกำกับไว้ อยู่ด้านบนของตัวกล้อง แต่กล้องอัตโนมัติรุ่นใหม่ๆ จะแสดงเป็นตัวเลขดิจิตอลบนจอ LCD ที่อยู่บนตัวกล้องแทน การเลือกปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์ในกล้องคอมแพคจะเลือกโดยโปรแกรมการบันทึกภาพอัตโนมัติของกล้องในขณะที่กล้องในระดับสูงขึ้นไปจะมีระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกความเร็วชัตเตอร์ได้ เรียกว่า Shutter Priority




ความเร็วชัตเตอร์ที่บอกค่าเป็น 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 2000 4000 นี้ล้วนแล้วแต่เป็นเศษส่วนของวินาที โดยเริ่มจาก 1 คือ 1/1 หรือ 1 วินาทีนั่นเอง และ 2 คือ 1/2 วินาที 60 คือ 1/60 วินาที และ 500 คือ 1/500 วินาที ในขณะที่กล้องที่ระบุค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นตัวเลขก็จะมีลักษณะเดียวกัน โดยอาจจะมีค่าตัวเลขที่แยกย่อยไปกว่านี้อีก เนื่องจากระบบการคำนวณที่ซับซ้อนกว่าในค่าระหว่าง แต่ระยะเวลาก็ยังคงเหมือนเดิมหากเป็นค่าเดียวกัน เช่นตัวเลข 60 ที่อยู่ด้านบนซ้ายมือ คือค่าของความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 วินาที ตัว B ที่แสดงบนแป้นชัตเตอร์หมายถึงม่านชัตเตอร์จะเปิดค้างตราบเท่าที่เราจะยังกดชัตเตอร์อยู่ เมื่อเราปล่อยมือ ม่านชัตเตอร์ถึงจะปิด

ความเร็วชัตเตอร์คือกลไกอีกตัวหนึ่งที่นักถ่ายภาพใช้เพื่อสร้างงานภาพ เราสามารถเลือกใช้ความไวชัตเตอร์เพื่อสื่อถึงสิ่งที่เราต้องการแสดง อารมณ์ของภาพ ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่างกัน จะให้ผลของภาพที่แตกต่างกันออกไป ความเร็วที่ต่ำ (ตัวเลขน้อย) จะแสดงถึงความเคลื่อนไหว ในขณะที่ความเร็วที่สูง (ตัวเลขมาก) จะหยุดแอ็คชั่นต่างๆ ได้ (ขึ้นอยู่กับความเร็วของสิ่งที่เราต้องการหยุด) ดังจะเห็นได้จากภาพของสายน้ำ 3 ภาพด้านล่าง ซึ่งถ่ายจากสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกัน

ความเร็วของชัตเตอร์และขนาดของรูรับแสงจะทำงานอิงอาศัยซึ่งกันและกันในการสร้างภาพภาพหนึ่ง เนื่องจากการถ่ายภาพคือการใช้แสงในการบันทึก หากปริมาณแสงมากหรือน้อยเกินไป ก็จะทำให้ภาพขาดความสมบูรณ์ไปได้ สำหรับพวกเราที่มีกล้องที่ให้เลือกใช้ระบบ Shutter Priority ลองใช้ระบบการบันทึกภาพแบบนี้ดูเพื่อสร้างภาพที่ใช้ตัวความเร็วชัตเตอร์เป็นตัวควบคุม ในกรณีของกล้องดิจิตอลทุกวันนี้แม้จะเป็นกล้องคอมแพคที่ไม่มีระบบนี้ให้ใช้ เราก็สามารถใช้ระบบการบันทึกภาพสำเร็จที่เป็นรูปคนวิ่งเพื่อใช้บันทึกภาพที่เกี่ยวกับความเร็วหรือแอ็คชั่นดู ข้อเสียของมันคือ การใช้ระบบนี้จะเลือกใช้ความเร็วต่ำไม่ได้ เพราะถูกระบุให้เป็นการใช้ความเร็วสูงมากกว่า


Lens Aperture - รูรับแสงของเลนส์

ส่วนประกอบที่สำคัญของเลนส์ที่ควรทำความเข้าใจคือ รูรับแสงของเลนส์ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของแสงที่จะผ่านเลนส์เข้าไปสู่ตัวรับภาพหรือฟิล์ม ขนาดของรูรับแสงมีผลต่อภาพที่บันทึกได้ รวมไปถึงมีผลกับสภาพแสงที่ใช้ในการบันทึกภาพด้วย






ขนาดของรูรับแสงจะแสดงเป็นตัวเลขไว้ที่ขอบเลนส์ด้านหน้าที่เดียวกับตัวเลขที่แสดงค่าทางยาวโฟกัสของเลนส์ เช่น 35mm. 1:2.8 หมายถึงว่าเลนส์ตัวนี้มีขนาดของรูรับแสงกว้างสุดเท่ากับ f/2.8 เลนส์แต่ละตัวจะมีรูรับแสงกว้างสุดไม่เท่ากัน เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงเริ่มต้นแคบกว่า ประโยชน์หลักๆ ของขนาดรูรับแสงที่กว้างคือ การใช้งานในสภาพแสงน้อยๆ ที่ดีกว่า เพิ่มโอกาสในการบันทึกภาพให้มากขึ้น ปรับโฟกัสได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญทำให้ฉากหลังเบลอได้ง่ายขึ้นด้วย


รับแสงของเลนส์โดยทั่วๆ ไปหากเป็นเลนส์ฟิกซ์ในตัวกล้องจะมีขอบเขตที่จำกัด โดยกล้องจะระบุอยู่ในสเปค หรือในคู่มือของกล้อง ในขณะที่เลนส์ที่ใช้ในกล้อง SLR จะมีค่าเริ่มต้นตั้งแต่ f/1.4 - f/4.5 และจะไล่ลำดับกันออกไปจนถึง f/22 โดยปกติแล้วในกล้องคอมแพคจะเลือกขนาดรูรับแสงให้อัตโนมัติ สำหรับกล้องที่ให้ผู้ใช้เลือกปรับขนาดของรูรับแสงได้จะมีฟังชั่นการบันทึกภาพให้เลือกใช้คือระบบบันทึกภาพแบบ Aperture Priority
ดังเห็นได้จากภาพว่าตัวเลขยิ่งสูง ขนาดของรูรับแสงจะยิ่งแคบลง ซึ่งหมายความว่าปริมาณของแสงที่จะผ่านเลนส์เข้าไปยิ่งน้อยมากขึ้น การเลือกใช้งานจึงขึ้นอยู่กับสภาพแสงและลักษณะของภาพที่ต้องการบันทึกเป็นหลักใหญ่ เนื่องจากขนาดของรูรับแสงมีผลต่อลักษณะของภาพที่บันทึกได้



*** ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก เวปวิกิพีเดีย และเวปครูเทคโน และขอขอบพระคุณพื้นที่จาก google.com เป็นอย่างสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น