ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

29 กรกฎาคม 2552

งานแห่เทียนเข้าพรรษา 52

งานแห่เทียนเข้าพรรษา 2552
ณ ตำบลศรีตระกูลอำเภอขุขันธุ์จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สืบสานตำนานชนเผ่า (ส่วย, เขมร, ลาว)

Clip VDO1


Clip VDO2
Clip VDO3

ด้วยพลังศรัทธาของชาวพุทธศานิกชนชาวตำบลศรีตระกูล 8 หมู่บ้าน คือ

  • บ้านเคาะ
  • บ้านหนองทัพ
  • บ้านสนวนตะวันออก
  • บ้านสนวนกลาง
  • บ้านสนวนตะวันตก
  • บ้านละเบิก
  • บ้านตาฮีง
  • และบ้านโนน

ทุกๆปี มีประเพณีที่สำคัญยิ่งของผู้คนทุกทุกเชื้อสายทุกเผ่าพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธ ต่างให้ความสำคัญและยึดถือปฏิบัติกันมาสืบช้านาน ตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย สู่ลูกหลาน เหลนโหลน จนกระทั่งปีนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 7-8 กรกฎาคม พุทธศักราช 2552 คนไทยซึ่งเป็นกลุ่มคนชนเผ่าเล็กๆ มีเชื้อสายมาจากเผ่าโบราณ คือ ส่วย เขมร ลาว ที่นับถือศาสนาพุทธ ต่างก็ร่วมแรงร่วมใจศรัทธาจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาขึ้นมา /// ขอขั้นสักนิดครับ.......... ในนามของชาวพุทธควรจะได้ทราบประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา ว่ามีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร ทำไมจึงต้องจัดงานด้วย มันมีสาระสำคัญหรือ เราตามไปศึกษากันเลยครับ

ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จพร้อมเหล่าพุทธสาวก ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง
เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดี่ยวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย
และในปีนี้ (ปี2552) ก็เช่นกัน เป็นที่น่าภาคภูมิใจของชาวตำบลศรีตระกูล ที่สามารถจะแสดงออกซึ่งความสมานสามัคคีให้ประจักแก่ชาวโลก โดยถ้าผู้เขียนจะขอวิเคราะห์เหตุการณ์จากอดีตที่ผ่านมาว่ากลุ่มคนชนเผ่ากลุ่มนี้มีบทบาทและความเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อการดำรงชีวิตซึ่งมีความเชื่อและศรัทธาเป็นบรรทัดฐานในการเป็นอยู่ เอาเป็นประมาณสักยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาก็แล้วกัน... (มากกว่านั้นยังไม่เกิด)




ท่านนายก เล็ก ปราศรัยกับประชาชนชาวตำบลศรีตระกูล


ท่านนายกพร้อมคณะผ้บริหาร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผอ.โรงเรียนศรีตระกูลวิทยาและผอ.โรงเรียนเคาะสนวนสามัคคี
ก่อนหน้าที่ระบบการเมืองท้องถิ่นยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทในการปกครอง นับถอยหลังมาประมาณประมาณปีพุทธศักราช 2523 กลุ่มคนชนเผ่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอาศัยอยู่กับธรรมชาติอย่างพอเพียง มีจิตใจอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารีย์ รักใคร่ปรองดอง และมีความสมานสามัคคีเป็นที่ตั้ง โดยหลักๆแล้ว ประชาชนส่วนมากจะเป็นคน เผ่าส่วยและเขมร ส่วนมาก โดยมีคนเผ่าอื่น เช่นลาวเริ่มเข้ามาปะปนอาศัยอยู่ในภายหลัง
ท่านผู้ใหญ่สนั่น เทาศิริ แกนนำชาวบ้านเคาะหัวรือหลักในการนำจัดขบวนแห่เทียนของบ้านเคาะ
ในสมัยนั้นกลุ่มคนชนเผ่าทั้งแปดหมู่บ้านมีศาสนสถาน คือวัดเพียงแห่งเดียวสำหรับประกอบศาสนพิธีฟังเทศน์ฟังธรรม คือ วัดเคาะกุปวารีย์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่บ้านเคาะในปัจจุบัน พูดถึงความเชื่อและความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของชนเผ่ากลุ่มนี้นั้น มีมาช้านานนับแต่สมัยบรรพบุรุษถึงแม้จะการผสมผสานด้วยควาเชื่อดั้งเดิม แต่ก็ยังมีความรักความศัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเหนี่ยวแน่น
** กรุณารออัปเดทครับ...
ขบวนแห่ของบ้านเคาะ นำโดยคนเฒ่าคนแก่ที่สุดในหมู่บ้าน
ขบวนแห่ของบ้านตาฮีง เป็นการผสมผสานศิลปะดั้งเดิมในการดำรงชีวิต โดยจัดตกแต่งองค์เทียนบนเกวียน



ขบวนเทียนบ้านสนวนตะวันออก


สาวงามจากขบวนเทียนบ้านสนวนตะวันตก


สาวงามจากขบวนเทียนบ้านละเบิก

สาวงามจากขบวนเทียนบ้านหนองทัพ

สาวงามจากขบวนแห่เทียนบ้านเคาะ




นายก อบต.ศรีตระกูลมอบรางวัลชนะเลิศที่1 ให้กับขบวนแห่เทียนบ้านละเบิก








และนี่... น่าจะเป็น... สาวงามขวัญใจผู้ช่วยช่างภาพ ..อิอิ




กรุณารออัปเดทข้อมูลครับ...