ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

13 ตุลาคม 2551

หอสมุดแห่งกราฟฟิกดีไซน์

สิ่งสำคัญที่กราฟฟิกดีไซเนอร์ต้องมี

ในการที่จะเก่งกล้าในวิชากราฟฟิกดีไซน์ได้นั้น ท่านว่าต้องมีสิ่งเหล่านี้
1. ความชำนาญ คือความชำนาญในการใช้โปรแกรมกราฟฟิกต่าง ๆ อาจจะไม่ต้องชำนาญหลาย ๆ โปรแกรม แต่ขอให้รู้จริงเพียงโปรแกรมเดียวก็เหลือเฟือแล้ว ความชำนาญ สามารถหาได้จากหลายทาง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ การฝึกฝน ลำพัง การอ่าน หรือ การหาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะทำให้คนเก่งกล้าสามารถได้ แต่ต้องอาศัยการฝึกหัดบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ รู้จริง รู้ลึก ในสิ่งนั้น ผมจะขอแนะนำวิธีการฝึกฝนตนเองสัก 3 วิธี ให้เป็นแนวทาง ตามแต่จริตของแต่ละคนนะครับ 1.1 วิธีการฝึกตามแบบอย่างการฝึก คือ การฝึก ตามหนังสือ หรือ บทความ วิธีนี้ดี คือ ไม่ต้องคิดเอง แค่ลองทำตามเท่านั้น แต่จะไม่ทำให้คุณเกิดความคิด แรกเริ่ม ควรจะหัดตามวิธีนี้เสียก่อน ถือว่าเป็นก้าวแรกแห่งการฝึกฝน เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ในคราวต่อไป เมื่อเราต้องการทำงานแบบใด เราจะได้มานึกถึง งานเก่า ๆ ที่เคยฝึกไว้ และสามารถนำมาใช้ได้ทันที
1.2 วิธีการตั้งโจทย์ วิธีการตั้งโจทย์เป็นการบังคับตนเองให้ฝึกหัดในวิธีที่แตกต่างออกไปจากที่ตนเองถนัด โดยมีวิธีการตั้งโจทย์แยกย่อย ออกไปดังนี้
1.2.1 การตั้งโจทย์จากเครื่องมือ คือการกำหนดว่าวันนี้เราจะใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งเป็นพระเอกในงานของเรา เช่น clone stamp , type tool เป็นต้น โดยในงานนั้นจะต้องพยายามใช้เครื่องมือนั้นให้มากที่สุด เครื่องมืออื่น ๆ เพียงแค่เสริมเท่านั้น วิธีนี้มีประโยชน์คือ เราจะได้พัฒนาฝีมือเฉพาะทาง เจาะลึกเป็นตัว ๆ ไปเลย และจะทำให้พื้นฐานของเราแน่นปึ๊ก การฝึกขอให้ลองตั้งโจทย์กับเครื่องมือทุกตัว บางตัวฝึกแค่ครั้ง สองครั้ง ก็ชำนาญ เพราะไม่มีอะไรมาก บางตัวใช้เวลานาน เพราะรายละเอียดและลูกเล่น มีเยอะ
1.2.2 การตั้งโจทย์จากภาพ คือ การเลือกภาพ มาหนึ่ง หรือ สองภาพ หรือ กี่ภาพก็แล้วแต่ แล้วนำมาแต่งอย่างไรก็ได้ตามแต่จะคิดออก ใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ตามใจ เทคนิคก็ฟรีสไตล์ วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าจะเหมาะกับทุกคนมากที่สุด เพราะสามารถทำตามใจได้มากที่สุด ตั้งแต่การเลือกภาพ จนวิธีการทำงาน ประโยชน์ก็คือ เราจะทำให้เรามีจินตนการเพิ่มขึ้น เมื่อหัดบ่อย ๆ จะเกิดความคิดได้รวดเร็ว และสามารถมององค์ประกอบของภาพได้ดีขึ้น
1.2.3 การตั้งโจทย์จากความต้องการ วิธีนี้เป็นวิธีที่ยาก ให้ลองคิดว่ามีคนมาจ้างเราให้ทำงานสักงานหนึ่ง เราก็ตั้งโจทย์ขึ้นมาเลย เช่น ทำภาพโปสเตอร์ประกวดนายแบบ นางแบบ หรือ หนุ่มสาวแพรว อะไรก็ว่าไป , หรือทำปกซีดีเพลงแดนซ์ , ทำโปสเตอร์เชิญชวนรักษาความสะอาด ,ออกแบบแพ็กเกจ เป็นต้น วิธีนี้เราจะสามารถทำตามใจได้น้อยลง เพราะมีข้อบังคับเพิ่มขึ้น เมื่อฝึกมากเข้า อาจจะกำหนดว่า ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วน , ภาพต้องใช้โทนซีเปีย อย่างนี้เป็นต้น การฝึกแบบนี้มีประโยชน์ต่อการทำงานจริง เพราะในการทำงานเราจะเจอลูกค้าหลากหลาย บางคนไม่เข้าใจศิลปะเลย Hard Sell อย่างเดียว เรียกได้ว่าจะขายของอย่างเดียวนั่นแหละ ศิลปะไม่ต้อง ซึ่งสำหรับคนที่สร้างงานศิลปะอย่างเราจะหงุดหงิดมาก ถ้าไม่ได้ฝึกมาก่อน ดังนั้นการฝึกแบบนี้ก็สามารถทำให้เราแบ่งรับแบ่งสู้ระหว่างศิลปะกับธุรกิจได้ และอาจจะมองหารอยต่อระหว่างสองสิ่งนั้นเจอก็ได้
1.3 การฝึกโดยการเลียนแบบ คือ การฝึกโดยทำภาพเลียนแบบงานของคนอื่นเค้าให้เหมือนที่สุด เหมือนในที่นี้คือเหมือนทางเทคนิคนะครับ เช่นคุณไปเห็นงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใน หนังสือ , ป้ายรถเมลล์ , เว็บไซต์ ฯลฯ คุณก็มาลองคิดดูว่าเค้าน่าจะใช้เทคนิคอะไรในการสร้างภาพนั้น คุณอาจจะใช้เทคนิคต่างจากเค้าก็ได้ แต่ได้ภาพออกมาเหมือนกัน หรือบางทีคุณกับเค้าอาจจะใช้คนละโปรแกรมเลยก็ได้ แต่ได้ผลลัพธ์ในลักษณะเดียวกัน วิธีนี้แนะนำอะไรได้ไม่มากครับ คนที่จะฝึกวิธีนี้ต้องมีความชำนาญในเครื่องมือและฟังก์ชั่นต่าง ๆก่อน ยิ่งเป็นเทคนิคยาก ๆ ต้องมีความรู้และความชำนาญมาก จากนั้นก็เป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะวิเคราะห์เองแล้วล่ะครับ
2. ความรู้ในศิลปะ ในเมื่องานกราฟฟิกดีไซน์ ก็คืองานศิลปะแขนงหนึ่ง ความรู้ทางศิลปะจึงขาดเสียมิได้เลย ความรู้ทางศิลปะพื้นฐานก็ได้แก่ ทฤษฎีสี , การจัดองค์ประกอบ ,ลายเส้น , ลายไทย ,ลวดลายสากล , นอกจากนี้ ก็ควรจะมีความรู้ในการชมงานศิลปะอยู่ด้วย , ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ , การแบ่งประเภทงานศิลป์
3. ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการสร้างงานศิลปะ การพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ก็ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน เราต้องพยายามสร้างงานที่แตกต่างออกมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคนิค หรือ ด้านการสื่อสารจากภาพสู่ผู้เสพ
4. ความรู้ทางด้านอุปกรณ์เอาท์พุต ทำไมคนที่ทำงานทางด้านกราฟฟิกจึงต้องมีความรู้ทางด้านนี้ เพราะอุปกรณ์เอาท์พุต คือสิ่งสำคัญที่จะแสดงคุณภาพงานของเรา จำไว้เสมอว่า เราทำภาพในเครื่องเราว่าสวยแล้ว แต่ไปดูอีกเครื่องหนึ่ง ภาพของคุณสีจะเพี้ยนไปเลย ยิ่งถ้าคุณทำงานในด้านสื่อสิงพิมพ์ คุณยิ่งต้องระวัง ต้องมีการเซ็ทค่าเอาท์พุต ให้สามารถแสดงสีออกมาได้ถูกต้อง อุปกรณ์อินพุตก็เหมือนกัน แต่อาจจะสำคัญน้อยกว่า สิ่งสำคัญของอุปกรณ์อินพุตก็คือ ต้องนำเข้าภาพที่มีคุณภาพ มีความละเอียดสูง ส่วนเรื่องสี และแสงสามารถมาปรับแต่งกันได้ทีหลัง สำหรับคนที่ทำงานทางด้านเว็บ คุณอาจจะไม่ต้องระวังเรื่องสีมากนัก สิ่งที่ต้องพึงระวังก็คือ เรื่องของ Browser Browser ต่างค่าย จะแสดงผลที่แตกต่างกัน , Resolution ของหน้าจอ สำหรับคนที่ทำงานทางด้าน Multimedia Presentation คุณต้องคำนึงถึงคุณภาพของโปรเจ็คเตอร์ ว่าแสดงสีเป็นอย่างไร ต้องมีการทดลองกับโปรเจ็คเตอร์จริง ๆ ก่อน หรือแม้แต่การเอาท์พุต ออกทางทีวีก็ตาม สีที่มองเห็นที่หน้าจอโทรทัศน์ ย่อมแตกต่าง จากสีในจอมอนิเตอร์ของคุณแน่นอน
5. ความสนใจในเหตุการณ์รอบตัวต่าง ๆ ข้อนี้อาจจะไม่จำเป็นนัก แต่ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่าง และการเสริมลูกเล่นในงานของคุณ โดยคุณอาจจะนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้นมาใส่ในงานของคุณ เพื่อให้งานน่าสนใจ แต่งานนั้นจะมีความโดดเด่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
6. เปิดหูเปิดตา คือการออกไปหาแรงบันดาลใจภายนอก อย่านั่งอยู่แต่ในบ้าน ออกไปภายนอกท่องเที่ยวเสียบ้าง หรือ ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ สวดมนต์ หรือ ทำอย่างอื่นนอกจากนั่งออกแบบอยู่กับบ้านบ้าง เพื่อให้สมองไม่ตัน จะได้มีไอเดียใหม่ตลอดเวลา ครับก็หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่สมาชิกชาวไทยกราฟบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ บางคนอาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างจากผม ก็ขอให้ช่วยกันลงคอมเมนต์นะครับ เพื่อที่คนที่ได้มาอ่านทีหลัง เค้าจะได้มีอะไรเปรียบเทียบ จะได้เกิดไอเดียครับ การให้ความรู้แก่ผู้อื่นถือเป็นการทำบุญที่ได้อานิสงฆ์สูงนะครับ ดังนั้น ช่วย ๆ กันคอมเมนต์กันเยอะ ๆ นะครับ

ทฤษฏีสี

เราจะเริ่มเรียนทฤษฏีสีได้อย่างไร โดยปรกติแล้ว ทุกคนโดยทั่ว ๆ ไป ต่างก็รู้จักสีด้วยกันทั้งนั้น และทุกคนก็สามาถบอกได้ว่า สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีดำ สีขาว และสีอื่น ๆ ฯลฯ แต่ก็เป็นเพียงได้รู้จักสี และเรียกชื่อสีที่ถูกต้องให้เป็นสัญลักษณ์เฉพาะ ตัวเท่านั้น จะมีสักกี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง ถ้าจะคิดเฉลี่ยแล้ว อาจจะมีผู้รู้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เป็นเพราะ เรายังไม่มีตำราเรียนกันนั่นเอง จนถึงปัจจุบันนี้วงการศึกษายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประจำวันนี้อยู่ และผู้เขียนเองก็ได้ตระหนักดีว่า เด็กไทยยังขาดความรู้เรื่องสี จึงได้ตัดสินใจเขียนตำราเล่มนี้ ขึ้น เพื่อเป็นทฤษฎีสีสำหรับใช้ศึกษาเรื่องสีเบื้องต้น และผู้เขียนตั้งใจจะให้เป็นตำราชี้แนวทางการศึกษาเรื่องสีให้ ถูกต้อง และเป็นตำราเล่มแรกที่พิมพ์สีทั้งเล่ม ต่อไปเราจะเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องความเป็นมาของต้นกำเนิดของ "ทฤษฎีสี" ซึ่งเป็นหลักวิชาได้ศึกษากันต่อ ๆ มา



3 เหลี่ยมสี TriaangcI Princries
นำเอาแม่สีหลัก หรือสีขั้นที่ 1( PRIMERY ) คือ แดง เหลือง ฟ้า มาวางที่มุมของ 3 เหลี่ยมด้านเท่า สีละมุม ( ดูภาพประกอบ )



ภาพเขียนที่ใช้ชุดที่ 2 Secondaries
สังเกตดูภาพเขียนที่แสดงอยู่นี้ เราใช้สีเพียง 3 สี ด้วยสีขั้นที่ 2 คือ สีส้ม สีม่วง สีเขียว นี่เป็นการใช้สีชุดอีก แบบหนึ่งเราจะเห็นว่าสีมีความสัมพันธ์ต่อกัน








3 เหลี่ยมสี Tridteries
ในขั้นที่ 3 นำสี S กับสี P มาผสมกัน สีก็จะเกิดขึ้นใหม่ในช่องว่างระหว่าง S กับ P อย่างเช่น ระหว่างเหลือง แดง เอาสีเหลืองผสมส้มก็จะได้สีเหลืองส้ม Yellwo Orange และสีส้มผสมกับสีแดง ก็จะได้สีแดงส้ม Red Orange และสีแดงผสมม่วงก็จะได้สีม่วงแดง Red Violet และสีม่วงผสมฟ้าก็จะได้สีม่วงน้ำเงิน และสีฟ้าผสมเขียวก็จะได้ สีฟ้าเขียว Blue Green เขียวผสมเหลืองก็จะได้เขียวเหลือง Yellwo Green





สีกลาง Muddy Colour
สีขั้นนี้เป็oการผสมสี Primeries ทั้ง 3 เข้าด้วยกัน สีที่ได้จะเป็นสีกลาง คล้ายสีโคลน เราเรียกสีนี้ว่าสี Muddy







*** กรุณารออัปเดทครับ ***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น