ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

12 มกราคม 2554

เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่เห็น (สุดเขตแดนสยาม)

พาเที่ยว สุดเขตแดนสยาม
ขอต้อนรับสู่วิถีการเดินทางอาจเป็นเพียงมุมชีวิตเล็กๆ แต่อยากนำมาถ่ายทอดเสนอให้เป็นวิทยาทานของการรับรู้และได้สัมผัสอาจก่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ได้บ้าง (ไม่มากก็น้อย)
ปีใหม่ 2554 หลังจากการดำเนินชีวิตภายใต้ทุนนิยมในเมืองกรุง (หลายๆคนคงเป็น)  เป็นช่วงโอกาสที่หาได้น้อยมากที่จะมีเวลาเป็นเป็นของตัวเอง ที่จะได้มาสัมผัสกับชีวิตจริงของตัวเองสักที เลยหาโอกาสและเวลาให้กำไรชีวิตกับตัวเองบ้าง ด้วยการเที่ยวเชิงกรณีศึกษา 


จังหวัดศรีสะเกษ มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่รอให้ท่านได้มาสัมผัส ซึ่งสิ่งที่เลื่องชื่อมากที่สุดก็เป็นดินแดนปราสาทขอม มีดงลำดวนชุกชุม หลากล้วนวัฒนธรรมหลายชนเผ่า
ตำบลศรีตะกูล เป็นอีกสถานที่หนึ่งของเขตพื้นที่ของอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีร่องรอยอารยธรรมความเป็นมาช้านาน เป็นพื้นถิ่นอยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธ์หลายกลุ่มด้วยกัน อาทิ ส่วย เขมร ลาว พื้นที่โดยส่วนมากเป็นเป็นพื้นที่การเกษตรเขตร้อน ซึ่งยังคงอาศัยการทำเกษตรควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ จะเห็นได้จากพื้นที่ส่วนมากยังปกคุมด้วยต้นไม้หลากหลายพันธุ์


                                                                                                    คลิ๊ก ดูรูปใหญ่
 
ทริปนี้ พาท่านไปสัมผัสและขอแนะนำให้รู้จัก ทับทิมสยาม และ ศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์ป่าจุฬาภรณ์ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
อ่างเก็บน้ำบ้านนาจะเรีย แหล่งน้ำสำคัญของทับทิมสยาม 06 เป็นต้นน้ำสำคัญในการสูบฉีดน้ำหล่อเลี้ยงชาวเกษตรกรบ้านนาจะเรียและเผื่อแผ่สู่เกษตรกรบ้านใกล้เรือนเคียง




เมื่อวันที่ 12  มิถุนายน พ.ศ.2536 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์   องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  ได้เสด็จเยี่ยมราษฎร ตามแนวชายแดนเมื่อครั้งทรงทอดพระเนตรศูนย์อพยพโอตราว  พระองค์ได้มีพระราชดำริที่จะพัฒนาราษฏรตามแนวชายแดน  โดยเฉพาะบ้านนาจะเรียให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม   โดยเฉพาะการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้มั่นคง จึงได้ทรงรับหมู่บ้านนาจะเรีย เข้าโครงการหมู่บ้านทับทิมสยามและกำหนดให้เป็นหมู่บ้านทับทิมสยาม 06  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อมและสร้างความมั่งคั่งให้เกิดขึ้นกับราษฎร  






สืบเนื่องมาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบัน วิจัยจุฬาภรณ์ได้เสด็จมาตรวจเยี่ยมราษฎรบ้านนาจะเรีย ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อ 12 มิ.ย.
2536 ได้ทอดพระเนตรบริเวณ พื้นที่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวเขมรเดิม (โอตราว)



ซึ่งแต่ก่อนเคยมีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่แห้งแล้งเสื่อมโทรมจึงได้มีพระประสงค์กับ ผวจ.ศรีสะเกษ ป่าไม้จังหวัดศรีสะเกษและหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้ทำการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพป่าและเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อปล่อยสู่ธรรมชาติ 



เพื่อสนองพระประสงค์ จ.ศรีสะเกษ กรมป่าไม้โดยส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาทำการสำรวจ และเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2536 ได้มีหนังสือ ที่พิเศษ 1373/2536 จากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ให้จัดตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าขึ้นและได้รับพระ ราชทานชื่อโครงการ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์


สภาพพื้นทีโดยรอบมีพื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่

บรรยากาศภายในศูนย์เพาะเลี้ยง คงสภาพการให้สัตว์ป่าคลุกคลีกับสภาพป่าธรรมชาติมากที่สุด
  

ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2537เป็นต้นมา โดยสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ตั้งอยู่บริเวณศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวเขมร (โอตราว) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา


<><><><><><><><><><><> 
น้ำตกห้วยจันทร์
สถานที่ บ้านน้ำตกห้วยจันทร์ ต.ห้วยจันทร์ อ.ขุนหาญจ.ศรีสะเกษ ช่วงนี้เป็นช่วงปลายหนาว ต้นร้อน บรรยากาศอาจดูอบอ้าวไปนิด สายน้ำลดปริมาณลง แต่ก็พอให้เดินทัสนาได้ ยังคงปกคลุมด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ และลำธารกัดเซอะที่เยือกเย็น
                                                                                                    คลิ๊ก ดูรูปใหญ่













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น