ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

18 เมษายน 2554

สงกรานต์ ปี2554

  งานประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวไทย  ชาวบ้านในตำบลศรีตระกูล โดยสังกัดวัดเคาะกุปวารีย์ มีบ้านเคาะ บ้านหนองทัพ บัานสนวนตะวันออก บ้านสนวนกลาง บ้านสนวนตะวันตก
และหมู่บ้านใกล้เคียง มีบ้านตาฮีง บ้านละเบิก และบ้านโนน ก็ต่างร่วมแรงร่วมใจพร้อมเพรียงกัน จัดงานอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ ปี2554 ขึ้น ปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 13 เมษายน นำโดยกำนันสนั่น  เทาศิริ ผู้ใหญ่นิพล  จันทรชิต พร้อมทั้งคณะกรรมการหมู่บ้านทุกท่านเป็นหัวเรียวหัวแรงในการดำเนินงาน และที่ขาดเสียมิได้ที่จะทำให้งานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีคือ ชาวบ้านทุกท่าน ต่างให้ความร่วมมือร่วมแรงใจ ในการตระเตรียมงานและร่วมงานกันอย่างคับคั่ง




 ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลศรีตระกูลแห่งนี้ส่วนมากก็เป็นกลุ่มคนชาติพันธุ์ ส่วยและเขมร เป็นส่วนมาก ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีก็จะเป็นไปในรูปแบบคล้ายๆกัน มีการผสมผสานระหว่างศิลปะส่วยเขมรอยู่ด้วยกัน อันเนื่องจากบรรพบุรุษความเป็นมาก็มีประวัติการอยู่อาศัยคลุกคลีอยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง




 พระ พุทธรูปที่หล่อขึ้นด้วยหยกทั้งองค์ ที่ได้รับการถวายมาจาก หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันจังหวัดสิงห์บุรี ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญเพื่อรดน้ำพระเพื่อเป็นศิริมงคลในครั้งนี้  เป็นประจำทุกปีที่ทางวัดเคาะกุปวารีย์ก็ได้อัญเชิญพระพุทธรุปองค์สัมฤทธิ์ เป็น พระพุทธรุปคู่วัดคู่บ้านมาช้านานเป็นที่เคารรพสักการะของชาวบ้านมาเป็นเวลา ช้านาน ได้ให้พุทธศาสนิกชนในสังกัดวัดได้สงน้ำและกราบไหว้บูชา และเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การแห่ขบวนสงกรานต์ในปีนี้อากาศร่มเย็นทั้งวัน โดยสังเกตุจากช่วงเช้าอากาศร้อนอบอ้าว พอชาวบ้านเริ่มอัญเชิญพระพุทธรูปองค์สัมฤทธิ์และพระพุทธรูปองค์หยกขึ้น ประดิษฐานบนรถที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงามแล้ว สายแดดเริ่มเลือนลางจางหายไป สายลมและความเย็นมาปกคลุมแทน


 



 นางสงกรานต์ ปีนี้ได้มีการจัดตกแต่งขบวนขึ้น โดยมีนางสงกรานต์ของบ้านเคาะ และบ้านหนองทัพ ร่วมขบวนแห่ เป็นสีสันและเติมเต็มของการแห่สงกรานต์ปีนี้ด้วย จะงดงามขนาดใหนลองชมและตัดสินกันดูครับท่าน



 

ขบวนแห่ปีนี้จะเริ่มตั้งต้นขบวนที่บ้านสนวนตะวันออกโดยมีพี่น้องในหมู่บ้านคอยต้อนรับและเตรียมขบวนแห่ร่วมกันในงานครั้งนี้ด้วย ซึ่งบ้านสนวนตะวันออกโดยส่วนมากจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เชื้อสายเขมรเป็นส่วนมากอาศัยอยู่ มีภาษาพูดคือภาษาเขมร เป็นภาษาหลัก ทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก วัฒนธรรมความเชื่อก็มีความเป็นเอกลักษณ์และผสมผสานกับส่วยบ้าง

 

ขบวนแห่ดำเนินมาเรื่อยๆ ด้วยขบวนรถและสองเท้าที่ย่างก้าวด้วยความสนุกสนานของชาวบ้าน ผ่านพ้นจากบ้านสนวนตะวันออกก็เข้าสู่บ้านสนวนกลาง ซึ่งมีพ่อแ้ม่พี่น้องชาวบ้านในหมู่บ้านตั้งขบวนและตระเตรียมทั้งน้ำดื่มและน้ำสะอาดไว้รอรับและให้พี่น้องที่เดินขบวนมาใ้ช้รดน้ำดำหัวกัน



พอขบวนดำเนินมาถึงแยกระหว่างบ้านสนวนกลางและบ้านสนวนตะวันตก ก็มีหน่วยงานราชการจากองค์การบริหารส่วนตำบลศรีตระกูลของเราคอยต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการจราจรทั้งบริการน้ำดื่มให้พี่น้องได้ดื่มด่ำความสดชื่นกันตลอดระยะทางในการเดินแห่ขบวนสงกรานต์ในครั้งนี้




นี่คือบรรยากาศที่ออกมาจากความรู้สึกจริงของชาวบ้านตำบลศรีตระกูล ทั้งเด็ก วัยรุ่น คนเฒ่าคนแก่ต่างมีความปลาบปลื้มปีติยินดีและออกมาร่วมขบวน ทั้งรดน้ำฟ้อนรำกันตลอดทาง งานนี้ก็อยากบอกว่าท่านกำนันของเราเต็มที่มาก


     

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ขบวนแห่มาถึงวัดก็จะเวียนเทียนรอบโบสถ์สามรอบ และก็ไปร่วมกันทำพิธีสงน้ำพระพุทธรูปและสงน้ำพระพร้อมทั้งรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่เพื่อขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป ก็ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ประเพณีสงกรานต์เข้ากับศาสนาอย่าลงตัวทีเดียว จากที่เราเคยเล่นน้ำธรรมดาหรือรดน้ำผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยทำกันปกติ ก็จัดให้มีการเวียนรอบโบสถ์เพื่อบูชาพระรัตนไตร นับว่าเป็นสิ่งที่น่าอนุรักษ์และสานต่อให้คงอยู่คู้กับชุมชนเป็นอย่ายิ่ง

 
 
 

ระหว่างที่สงน้ำพระและรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ชาวบ้านต่างก็สนุกสนานด้วยการสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างคับคั่ง  พร้อมกันนั้นสายฝนแห่งความชุ่มฉ่ำก็โปรยลงมาจากท้องฟ้า  พาให้ทุกคนที่อยู่บนผืนดินใต้แผ่นฟ้าต่างก็ชุ่มชื้นและเปียกปอนไปด้วยน้ำฝนพาให้สุขใจกันยิ่งนัก

        นี่แหละครับ เอกลักษณ์ความเป็นไทย มันเป็นเสน่ห์ที่น่าไหลหลง ควรค่าแห่งการจดจำและเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่พวกเราอนุชนทั้งหลายควรตระหนักให้ความสำคัญ ร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษณ์ให้คงไว้อยู่คู่กับคนไทยตลอดกาลนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น