ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

17 เมษายน 2553

งานประเพณีสงกรานต์ ปี 2553

สงกรานต์ ดังเช่นทุกๆปีที่ผ่านมา ถือเป็นธรรมเนียมหรือประเพณีปฎิบัติสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ จวบจนปัจจุบันก็ยังดงยึดถือและอนุรักษ์คงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามตลอดมา ก่อนจะนำท่านไปพบกับเรื่องราวของชนกลุ่มหนึ่ง "ส่วย" ที่ยังได้รับการถ่ายทอดและยึดปฎิบัติซึ่งประเพณีอันดีงามนี้มาตลอด ขอนำตำนานประวัติความเป็นมาประเพณีวันสงกรานต์มาให้ท่านได้ทราบโดยสังเขปก่อน ดังความตอนต่อไปนี้



        ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตรองค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัยต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆแก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วันทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศจากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้


1.ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
2.ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
3.ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)
4.ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
5.ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
6.ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
7.ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)




กลุ่มคนชนเผ่า ส่วย เป็นดังครั้งเก่าก่อน ที่ยังคงอนุรักษ์และนำปฎิบัติสืบมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเพณีสงกราต์ ปีนี้ ปีพุทธศักราช 2553 ได้มีลูกหลานในหมู่บ้านที่ต่างคนก็ได้พลัดพรากจากพ่อแม่พี่น้องและจากบ้านเกิด เพื่อการการดำรงชีวิต ต่างคนก็ต่างแยกย้ายไปทำมาหากินกันในหลายๆท้องที่ บางคนก็ไปต่างหมู่บ้านบ้าง ต่างจังหวัดบ้าง แต่ที่ที่เป็นแหล่งไปทำมาหากินกันโดยส่วนมากก็จะเป็นเมืองหลวง คือ กรุงเทพฯ




ถ้ากล่าวถึง กรุงเทพฯ ในทัสนคติที่คนต่างจังหวัดในชนบทมองและวาดความรู้สึกไว้ ตั้งแต่อดีตกาล ก็มักจะมองกันว่าเป็นสถานที่ที่งดงามยิ่งใหญ่หรือจะคล้ายกับสวรรค์ก็ว่าได้ ต่างคนก็ต่างใฝ่ฝันที่อยากจะมาเชยชม หรือได้เข้าใช้ชีวิตอยู่ในเมืองแห่งนี้ ซึ่งยังมองว่าเป็นเมืองศิวิไล

แน่นอนว่า บางคนที่ได้เข้ามาสัมผัสในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่คิดกันว่า ศิวิไลแห่งนี้ บางคนก็รับความสะดวกสะบายจากการได้โอกาสจากการทำงานเป็นลูกจ้าง จากบริษัทบ้าง จากห้างร้านบ้าง หรือบางคนก็อาจจะได้โอกาสในการต่อยอดโอกาสตัวเองเพิ่ม จากการได้เข้ารับการศึกษาเพิ่มเติม จวบจนได้จบการศึกษาในระดับสูงขึ้น จนได้รับโอกาสในการรับหน้าที่การงานที่พอมีรายได้ดีขึ้น




แต่บางคนก็กลับเป็นตรงกันข้าม ไม่ว่าจะด้วยโอกาสจากความรู้ที่ได้รับการศึกษามาหรือโอกาสที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่ได้เข้าไปอาศัย จากเพื่อนฝูงร้อยพ่อพันแม่บางคนก็หลงผิดในด้านสิ่
งเสพติดบ้าง บางคนก็อาจไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างบ้าง ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ยังคงมีให้พบเห็นในปัจจุบันเป็นที่แพร่หลาย


... รออัปเดท บทความและรูปภาพ

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 กันยายน 2553 เวลา 00:26

    สวยเนอะ
    จรวน ชิมิๆ
    อิอิ

    จาก น้องเม้าท์ คนสวยกว่า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ11 เมษายน 2554 เวลา 00:18

    สวยตายแหละ

    จาก ลี จรวนชิมิๆ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ20 เมษายน 2554 เวลา 22:51

    ซำจะนับแซมซาม

    ตอบลบ