ร่วมสืบสานตำนานชนเผ่า อาสาพัฒนา สำนึกรักบ้านเกิด เรื่องราววิถีชีวิตพึ่งพา บันทึกและถ่ายทอดโดย " คนศรีตระกูล " (เพราะโลกคือการแบ่งปัน)

"พญานาค" (อัศจรรย์วันออกพรรษา 2554)

04 พฤศจิกายน 2553

กลุ่มคนชนเผ่า " ส่วย " ( กูย )





บนโลกใบนี้มีสรรพสัตว์มากมายอาศัยอยู่ โดยจำแนกออกเป็น 2 นัย คือ 1.สัตว์ประเสริฐ หรือที่เรียกว่ามนุษย์ 2.สัตว์เดรัจฉาน คือสัตว์อื่นๆ นอกจากมนุษย์ ขออธิบายสัตว์  2 ประเภทสักหน่อยว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร
"สัตว์ประเสริฐ" คือมนุษย์ ที่เรียกว่าประเสริฐ เพราะสามารถทำคุณประโยชน์ และสั่งสมคุณประโยชน์ให้กับตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ และสิ่งที่กระทำไว้ในภพชาตินี้สามารถที่จะยังผลไปให้กับมนุษย์คนนั้นทั้งในภพชาตินี้และชาติต่อๆไป
"สัตว์เดรัจฉาน" คือสัตว์อื่นนอกจากมนุษย์ เช่น วัว ควาย เป็ด ไก่ เสือ สิงห์โต ช้าง ยุง ไร และอีกมากมาย ที่เรียกว่าเดรัจฉานเพราะ ไม่สามารถที่จะทำประโยชน์ให้บังเกิดขึ้นกับตนเองและสัตว์อื่น ซ้ำบางประเภทก็ต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตว์อื่น เช่นมนุษย์ เป็นต้น

มนุษย์ มีอดีตกาลมาช้านานโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน หรือสันนิษฐานว่า ถือกำเนิดขึ้นมาได้สองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว " หรือในทางพระพุทธศาสนาท่านว่าเกิดมาจากผลกรรมที่กระทำสั่งสมไว้ แต่หากจะค้นหาให้ละเอียดและลึกซึ้งกว่านี้ ก็มีหนทางให้พิสูจน์กันเอง แต่ในที่นี้ขอใช้คำว่า "มันเป็นอจินไตย" คือเป็นสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาไม่ควรเอามาคิดมากไป เอาง่ายๆ ให้รู้ไว้ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว  ความบริสุทธิ์เป็นเรื่องจำเพาะตน คนอื่นไม่สามารถทำให้เราได้"  มนุษย์นั้นโดยถ้ามองแยกจำแนกออกมาก็จะมีหลายเผ่าพันธุ์หลายเชื้อชาติ ในแต่ละเผ่าพันธุ์ก็จะมีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์ในวิถีการดำเนินชีวิต และมีหลักความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา    ในบทความนี้จะนำเรื่องราวของชนเผ่ากลุ่มหนึ่งที่ถือกำเหนิดมาพร้อมกับหลายๆเผ่าพันธุ์ ซึ่งจะมีวิวัฒนาการวิถีชีวิต หลักความเชื่อที่เหมือนหรือแตกต่างกับเผ่าพันธุ์กลุ่มอื่นอย่างไรนั้น โปรดติดตามได้เลยครับ

" ส่วย "

บางทีก็เรียก กูย, โกย, กวย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำโขง บริเวณแนวเขาพนมดงรัก การอพยพปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ชาวกุยในแคว้นอัสสัมถูกรุกรานโดยชนเผ่าอนารยะ จนบางส่วนต้องละทิ้งถิ่นฐานอพยพข้ามลงมาตามลำน้ำโขง เคยเป็นอาณาจักรหนึ่ง ถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนเหนือของเมืองกัมปงธม ประเทศกัมพูชา ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เคยส่งทูตมาค้าขายกับอยุธยา เคยช่วยกษัตริย์เขมรปราบกบฏ ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางการทหารปราบชาวกูยและผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งกับเขมร ด้วยความชอบความอิสระและชอบการผจญภัย ได้อพยพขึ้นเหนือ เข้าสู่เมืองอัตตะบือ แสนปางจำปาศักดิ์ และสารวัน ทางตอนใต้ของลาว แต่ก็ถูกเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุต(เมืองเวียงจันทน์) ปราบปรามและขับไล่ จึงพากันอพยพตามแม่น้ำโขงมาตั้งรกรากอยู่แถบอิสานทางด้านแก่งสะพือ อำเภอโขงเจียม ได้แยกย้ายตั้งรกรากปลูกบ้านเรือนอยู่แถบนี้
วัฒนธรรม ชาวส่วยเรียกตัวเองว่า กูย,โกย หรือส่วย แปลว่า "คน" ใช้ภาษา "กูย" เป็นเอกลักษณ์ในการสื่อสาร ชาวกูยนับถือศาสนาพุทธผสมและเชื่อเรืองภูตผีปีศาจ เจ้าที่ ในชุมชุนจะมีศาลผี,เจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านเรียกว่า"ผละโจ๊ะ" จะมีการบวงสรวงเจ้าที่เรียกว่า "แซนผละโจ๊ะ"(เซ่นผีหรือเจ้าที่) ชาวกูยนิยมเลี้ยงช้างซึ่งสืบทอดจากบรรพบุรุษ ชาวกูยจะออกไปจับช้างป่าด้วยการคล้องช้าง ด้วยเชือกปะกำ ซึ่งทำจากหนังควาย ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณ เมื่อได้ช้างมาก็จะฝึกเอาไว้ใช้งาน พงศาวดารเมืองละแวกก็มีบันทึกไว้ว่าในพุทธศตวรรษที่ 20 กษัตริย์ขอมแห่งเมืองพระนคร ได้ขอให้แจ้งกุยแห่ง ตะบองขะมุน (ชุมชนกุยทางด้านใต้ของนครจำปาสัก) ส่งกำลังไปช่วยปราบกบฎที่เมืองพระนคร ชาวกุยได้ร่วมขับไล่ ศัตรูจนบ้านเมืองขอมเข้าสู่ภาวะปกติสุข หลักฐานนี้แสดงว่า ขณะที่ชนชาติไทยหรือสยามกำลังทำสงครามขับเคี่ยวกับ ขอมเพื่อสถาปนานครรัฐสุโขทัยขึ้นมานั้นชาวกุยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว



บทความข้างต้นก็พอจะทราบความเป็นมาพอสมควรแล้ว ในบทความต่อไปนี้จะขอเจาะลึก "เผ่าส่วย" ในถิ่นฐานหนึ่ง ซึ่งมีสถานที่ตั้งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ คือที่ ตำบลศรีตระกูล อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเรื่องราวที่จะนำมาเขียนนั้นจะพยายามนำในทุกเรื่องราวในการใช้ดำเนินชีวิตของชนกลุ่มนี้ อาทิเช่น

- ความเป็นมา
- ภาษาพูด ภาษาเขียน
- อาชีพ
- ศาสนา
- ลัทธิความเชื่อดั้งเดิม
- ประเพณีสืบทอด
- ความเป็นเอกลักษณ์

คำอ่านศัพท์ไทย - ส่วย
- ความเป็นมา (รืงเกิดเจา)
- ภาษาพูด ภาษาเขียน (พสาจรอย พสาสะเสร)
- อาชีพ (เปอจาเปอมวย)
- ศาสนา (เปียกสะตัย, ปะเตปะตาว)
- ลัทธิความเชื่อดั้งเดิม (รืงจือ)
- ประเพณีสืบทอด (ระบีบวัวเจา)
- ความเป็นเอกลักษณ์


เป็นที่ทราบกันดีว่า กลุ่มชาติพันธุ์ ในโลกเรานั้นมีมากมาย ในแต่ละชาติพันธุ์ก็จะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการด้วยกัน อาทิเช่น ศาสนาความเชื่อ ภูมิประเทศที่อาศัย ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ยังคงมีกลุ่มชาติพันธุ์มากมายอาศัยกระจัดกระจายกันทั่วทุกแถบของราชอาณาจักร ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่พอสำรวจพบในประเทศไทย เช่น กูย,กวย(ส่วย), เขมร, ลาว, มลายู, เยอ,  กะเหรี่ยง, กะซอง,จาม,  มอญ, มูเซอ,ไทขึน, ไทยสยาม, ไทใหญ่, สะโอจ, อาข่า, อุก๋อง เป็นต้น

 
ภาพจากมุมทิศตะวันออกของหมู่บ้านชนเผ่าส่วย ยามพลบค่ำ


ในช่วงนี้เป็นหน้าหนาว ยังคงปกคลุมไปด้วยไอหนาวและลมเย็นที่ห่อหุ้มผู้คนและต้นไม้ใบหญ้าให้ได้ซึมซับกับอรรถรสของความเยือกเย็น โดยสายลมแห่งธรรมชาติรังสรรค์
EOS450D / EF-S 18-55 mm. IS 1/15 f.3.5 ISO.1600



ตำบลศรีตระกูลเป็นตำบลตั้งใหม่ซึ่งแยกจากตำบลตาอุด เมื่อ พ.ศ. 2535 ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษเขมรและส่วย นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองอำเภอขุขันธ์ ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเคาะ บ้านสนวนตะวันตก บ้านสนวนตะวันออก บ้านละเบิก บ้านโนน บ้านหนองทับ

สภาพทั่วไป ( เรืองตีเปี๊ยะ)

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทราย พื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ตั้งหมประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านตาอุด ต.ตาอุด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ทิศใต้ ติดกับ บ้านบทดำ ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านสะเดาน้อย ต.สำโรงพลัน อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านปรือใหญ่ ต.ปรือใหญ่ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ



ความเป็นมา ( เรืองเกิดเจา )

ประมวลอ้างอิงจากหลักฐานทางประศาสตร์และคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่สืบทอดสู่ลูกหลาน ของกลุ่มคนชนเผ่าส่วย(กูย) ที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในบ้านเคาะ มีประวัติความเป็นมาที่ไม่ค่อยจะชัดเจนเท่าไรนัก อันเนื่องมาจากกาลเวลาทำให้สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีการสันนิษฐานความเป็นมาในหลายๆประเด็นด้วยกัน จากถิ่นฐานอาศัยเดิม ประมาณ 3 ถิ่นฐาน 1. โดยพื้นเพบรรพบุรุษของคนเผ่าส่วยสันนิษฐานว่า มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกของอีกหมู่บ้านหนึ่งชื่อหมู่บ้านตาฮีง ซึ่งหมู่บ้านนี้มีชื่อเรียกเดิมว่า อาแดะ(บ้านหม้อ) ที่เรียกชื่อว่า อาแดะ เพราะผู้คนในหมู่บ้านโดยมากมีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผ่าโดยส่วนมาก ( " แต่หมู่บ้านแห่งนี้ได้หายสาบสูญไปแล้ว") ซึ่งมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บ้าง เป็นงานปั้นเครื่องปั้นดินเผ่าที่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงที่ทำเกษตรกรรมในบริเวณนั้นได้ขุดพบ







ภาษาพูด

ภาษาพูดของคนชนเผ่าส่วยนั้น เป็นภาษาที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ โดยการใช้ภาษาพูดที่อิงกับธรรมชาติมากที่สุด สังเกตุได้จากคำบางคำที่เรียกชื่อ สัตว์ สิ่งของ อาจจะเรียกตามลักษณะ หรือเสียงร้อง


ภาษาเขียน

ส่วย ยังมิอาจค้นพบได้ว่ามีภาษาเขียน ยังคงใช้ภาษาพูดในการติดต่อสื่อสารกัน 








ประมวลภาพพื้นที่ของชุมชนคนส่วย โดยมีอาณาเขตบริเวณที่มีคนชาวส่วยอาศัยอยู่มากที่สุดคือ บ้านเคาะ โดยพื้นที่บริเวณด้านทิศตะวันออกสุดอาณาเขตหมู่บ้านที่วัดเคาะกุปวารีย์ มีเส้นทางลัดกลางหมู่บ้านในเขตพื้นที่การเกษตรตรงมาทางโรงเรียนประถม



โรงเรียนประถมศึกษา เป็นสถานที่สำหรับอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกูย ที่ยังคงเป็นสถานที่สร้างบัณฑิตตัวน้อยๆ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชนบทและประเทศชาติสืบต่อไปในภายภาคหน้า






ในส่วนของชลประทานจะมีสระน้ำ 1 แห่ง อยู่ติดกับวัด ชื่อสระว่า สระน้ำหนองทัพ สำหรับกักเก็บน้ำเพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านได้ใช้ในช่วงฤดูร้อนยามที่น้ำขาดแคลน ซึ่งสระน้ำแห่งนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการสูบฉีดน้ำเพื่อแจกจ่ายหล่อเลี้ยงชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน




ในอาณาเขตบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ จะมีเส้นทางลัดสู่ทุ่งนาและเชื่อมต่อสู่หมู่บ้านใกล้เคียง คือบ้านละเบิก ซึ่งภูมิทัศน์ริมถนนก็ยังเขียวชะอุ่มปกคลุมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้า




โดยรอบบริเวณหมู่บ้านยังคงภาพการเกษตรหลักคือการทำนาให้เห็นโดยส่วนใหญ่






ด้านทิศตะวันตกสุดเขตที่โรงเรียนมัธมศรีตระกูลวิทยา โดยมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบายอันได้รับประโยชน์มาจากภาครัฐบาลในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้





เส้นทางเข้าหมู่บ้านเคาะ (ส่วย) โดยเริ่มอาณาเขตจาก โรงเรียนมัธยมศรีตระกูลวิทยา



องค์การบริหารส่วนตำบลศรีตระกูล เป็นสถานที่ราชการที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาล เพื่อกระจายอำนาจการบริหารให้ทั่วถึงกับประชาชนในชนบท
 







ทางเข้าหมู่บ้านด้านทิศตะวันตก(อีกด้าน) ยังคงเป็นทางลูกรังที่ปกคลุมด้วยต้นไม้และยังคงผสมผสานความสมดุลกับธรรมชาติอยู่บ้าง


อีกทางเข้า-ออก อีกด้านหนึ่งของทิศตะวันตก เป็นเส้นทางสัญจรหลักในการดำเนินชีวิตในด้านการเกษตร







มาดูทางมุมทิศใต้ เป็นพื้นที่อีกด้านที่สามารถมองเห็นภูมิทัศน์ของหมู่บ้านอย่างชัดเจน เช่นกันรอบบริเวณยังคงร่ายล้อมด้วยประติมากรรมของการเกษตร
(EOS450D 18-55 mm. 1/200 f 11 ISO100)

(EOS450D 18-55 mm. 1/200 f 11 ISO100)


สิ่งที่ควบคู่กับวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสังคมไทยตั้งแต่บรรพบุรุษจวบจนปัจจุบัน คือศาสนา "วัด" คือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาในยุคสมัยนั้นๆ ชาว ส่วย(กูย) ได้รับอิทธิพลความเชื่อมาอย่างช้านานนั้นก็มีหลายศาสนาเช่นกันซึ่งยังคงมีการประพฤปฏิบัติสืบทอดกันให้เห็นในปัจจุบัน โดยส่วนมากก็จะเป็นศาสนพราหมณ์ฮินดูและศานาพุทธ













* กรุณารออัปเดทข้อมูลครับ อยู่ระหว่างการค้นคว้าข้อมูลและหลักฐานอ้าอิง *





(จำอานเดอแซมซาย)

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 ธันวาคม 2553 เวลา 04:28

    ศิษย์เก่าศรีตระกูล ครับ แต่เป็นคนบ้านหัวนอน ได้มีโอกาศแวะมาดูเป็นกำลังใจให้ในการรวบรวมข้อมูล เนื้อหาสาระดีมากครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 เมษายน 2554 เวลา 20:22

    ภาซากูยกะเลิงซำเนียง กูยประเทศลาว กูยสุพรรณ กูยสุรินทร์
    กูยสกล(โซ่)
    กูยบุรีรัมย์ กูยสารคาม แต่ไฮกูยสารคามเกิดมูโซลกูยทัวจังวัดไฮยากดีงชาติพันธ์กูย บางกูย พูด-แปลว่า-โซล-วาว-จรอย-ปาย-โวว

    ตอบลบ